การกำกับดูแลกิจการที่ดี
รายงานการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
คู่มือและมาตรการ
กฎบัตร
จรรยาบรรณของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน
1. การปฏิบัติตน
1.1 ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินธุรกิจ วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัทฯ หลักการกำกับดูแลกิจการ จรรยาบรรณธุรกิจ และมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
1.2 ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างตนเองให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
1.3 ยึดมั่นในคุณธรรม และต้องไม่แสวงหาตำแหน่ง ความดีความชอบหรือประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบจากผู้บังคับบัญชา หรือจากบุคคลอื่นใด
1.4 ละเว้นจากอบายมุข และสิ่งเสพติดทั้งปวง ไม่ประพฤติตนในทางที่อาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของตนเองและบริษัทฯ เช่น ไม่กระทำตนเป็นคนมีหนี้สินรุงรัง ไม่หมกมุ่นในการพนันทุกประเภท ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดทุกประเภท เป็นต้น
1.5 ไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำการใดอันจะกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือชื่อเสียงของตนเองและบริษัทฯ
1.6 หลีกเลี่ยงการมีภาระผูกพันทางการเงินกับบุคคลที่ทำธุรกิจกับบริษัทฯ หรือระหว่างบุคลากรด้วยกันเอง ซึ่งหมายความรวมถึงการให้กู้ยืมเงิน หรือกู้ยืมเงิน การเรียกร้องเรี่ยไรต่างๆ เช่น การเล่นแชร์ เป็นต้น ยกเว้นกิจกรรมเพื่อการกุศลและสาธารณะ
1.7 ห้ามผู้บริหารและพนักงานเรียกร้อง ดำเนินการ หรือ ยอมรับการคอร์รัปชั่นเพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว เพื่อน และคนรู้จัก ไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อม
1.8 ไม่กระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใดๆในบริษัทอื่นที่มีผลบั่นทอนผลประโยชน์ของบริษัทฯ หรือเอื้อประโยชน์ให้บุคคลหรือนิติบุคคลใดๆไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือของผู้อื่น
1.9 รักษาและร่วมสร้างสรรค์ให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
2. การปฏิบัติต่อผู้ร่วมงาน
2.1 เสริมสร้างการทำงานเป็นทีมโดยให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ต่องานของบริษัทฯ โดยส่วนรวม
2.2 ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานด้วยความสุภาพ มีน้ำใจ มีมนุษยสัมพันธ์อันดี ปรับตนให้สามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้ และไม่ปิดบังข้อมูลที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของเพื่อนร่วมงาน
2.3 ให้เกียรติผู้อื่นโดยไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน
2.4 ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติตนให้เป็นที่เคารพนับถือ และเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งมีความสุภาพต่อบุคลากรใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงานทุกระดับ
2.5 ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพนับถือ
2.6 ผู้ใต้บังคับบัญชารับฟังคำแนะนำของผู้บังคับบัญชา และไม่ปฏิบัติงานข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่ง รวมทั้งมีความสุภาพต่อบุคลากรและเพื่อนร่วมงานทุกระดับ
2.7 หลีกเลี่ยงการนำเอาข้อมูลหรือเรื่องราวของบุคลากรอื่น ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานและเรื่องส่วนตัวไปเปิดเผย หรือวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคลากร หรือภาพพจน์โดยรวมของบริษัทฯ
2.8 ไม่กระทำการใดๆที่ผิดศีลธรรมหรือเป็นการคุกคามทางเพศต่อบุคลากรอื่น โดยการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ หรือก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่บั่นทอนกำลังใจเป็นปฏิปักษ์ หรือก้าวร้าว รวมถึงการรบกวนการปฏิบัติงานของบุคลากรอื่นโดยไม่มีเหตุผล พฤติกรรมดังกล่าวครอบคลุมถึงการลวนลาม อนาจาร หรือการล่วงเกินทางเพศไม่ว่าจะด้วยวาจาหรือร่างกายก็ตาม
3. การปฏิบัติต่อบริษัท
3.1 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต มีความภักดี เพื่อความก้าวหน้า และความมั่นคงของบริษัทฯ และตัวพนักงานเอง
3.2 ร่วมกันรักษาและสร้างสรรค์ให้เกิดความสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในหมู่พนักงาน ร่วมกันทำงานและแก้ไขปัญหาเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ
3.3 เอาใจใส่และปฏิบัติหน้าที่การทำงานของบริษัทฯ ด้วยความเสียสละ อดทน เพื่อสร้างบริษัทฯ ให้มีคุณภาพมีประสิทธิภาพ มีผลตอบแทนที่เหมาะสมและพัฒนาบริษัทฯ ไปสู่วิสัยทัศน์ที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดไว้
3.4 ใช้ทรัพย์สินของบริษัทฯ อย่างมีประสิทธิภาพ และบำรุงรักษาไม่ให้เสื่อมค่าผิดปกติหรือสูญหาย รวมทั้งไม่ใช้ทรัพย์สินของบริษัทฯ เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
3.5 รักษาความลับของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด และไม่เปิดเผยข้อมูล ข่าวสาร และเทคโนโลยีการผลิตของบริษัทฯ
3.6 ร่วมมือและช่วยเหลือในการทำงานกับผู้ร่วมงานทุกคน เพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ และเคารพในสิทธิของพนักงานอื่นที่ร่วมบริษัทเดียวกัน
3.7 เอาใจใส่และดำเนินการทุกอย่างที่จะรักษาความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน
3.8 ให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานแก่ผู้ร่วมงานโดยยึดประโยชน์และเป้าหมายของบริษัทฯ เป็นสำคัญ
3.9 ไม่กล่าวร้ายต่อบริษัทฯ ผู้บริหารและเพื่อนพนักงานโดยปราศจากความจริง และไม่เป็นธรรม
3.10 แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้บริหาร หากพบว่ามีการกระทำใดๆในบริษัทฯโดยมิชอบ หรือผิดกฎหมาย
3.11 ไม่อาศัยตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองและหรือผู้อื่นโดยมิชอบไม่กระทำการใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของบริษัทฯ
3.12 หลีกเลี่ยงการให้ และ/หรือรับสิ่งของ และ/หรือรับการเลี้ยงรับรองหรือประโยชน์ใดๆ ทั้งที่เป็นตัวเงิน และมิใช่ตัวเงินจากคู่ค้า หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ เว้นแต่เพื่อประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจในทางที่เป็นธรรมของบริษัทฯ หรือในเทศกาล หรือประเพณีนิยม ซึ่งมีธรรมเนียมปฏิบัติอยู่ ต้องเป็นไปโดยประมาณ ไม่บ่อยครั้งและเหมาะสมกับโอกาสต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ข้อบังคับ และเป็นไปตามจรรยาบรรณว่าด้วยความขัดแย้งทางผลประโยชน์
3.13 ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำหรือปกปิดการกระทำใดๆที่อาจขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทฯ การคอร์รัปชั่น หรือการกระทำใดๆที่ผิดกฎหมาย
3.14 ไม่ควรละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชั่น โดยแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ หรือผ่านช่องทางการรายงานที่กำหนดไว้ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของบริษัทฯ
3.15 ให้ปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น
จรรยาบรรณนักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์ ซึ่งเป็นตัวแทนในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น นักลงทุนสถาบัน นักลงทุนรายบุคคลบริษัทหลักทรัพย์ ผู้สื่อข่าว และประชาชนทั่วไปที่สนใจในหลักทรัพย์ของบริษัท ผ่านช่องทางและวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งการให้ข้อมูลหรือการเปิดเผยข้อมูลจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ครบถ้วน ถูกต้อง ทันสถานการณ์ เป็นข้อเท็จจริงทั้งเชิงบวกและลบ โดยการเปิดเผยข้อมูลต้องดำเนินการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และสอดคล้องกับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนั้น นักลงทุนสัมพันธ์จึงต้องปฏิบัติหน้าที่โดยยึดจรรยาบรรณนักลงทุนสัมพันธ์ ดังนี้
1. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม และมีความรับผิดชอบ
2. เปิดเผยข้อมูล ข่าวสารที่จำเป็นอย่างถูกต้อง ชัดเจน ทันเวลา และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
3. เปิดโอกาสให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงและสอบถามข้อมูลได้
4. ห้ามนำเสนอข้อมูลที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัท หรืออาจจะกระทบต่อการตัดสินใจลงทุน หรือกระทบสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ก่อนการเผยแพร่อย่างเป็นทางการต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
5. ห้ามเปิดเผยข้อมูลที่ยังไม่มีผลสรุป หรืออยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งมีความไม่แน่นอน หรือการคาดคะเนเกินจริง
6. ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดถือผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียเป็นที่ตั้ง
7. สร้างความเชื่อมั่น เสริมสร้างภาพลักษณ์ และทัศนคติที่ดีของบริษัทฯ ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่ทุกฝ่าย
8. รักษาความลับของบริษัทและหลีกเลี่ยงการกระทำการหรือแสวงหาผลประโยชน์ใดๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองโดยอาศัยข้อมูลภายในบริษัท
9. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่ มีความเป็นมืออาชีพ และศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ
10. ปฏิบัติตามแนวทางการไม่รับนัดนักลงทุนหรือนักวิเคราะห์ในช่วงใกล้ประกาศงบการเงินแนวปฏิบัติในการซื้อขายหุ้นที่บริษัทได้กำหนดไว้
11. ไม่ซื้อ/ขายหุ้นของบริษัทในช่วงก่อนและหลังวันประกาศผลประกอบการตามนโยบายที่กำหนดไว้
12. ปฏิบัติงานสอดคล้องกับกฎระเบียบ ข้อกำหนด ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหน่วยงานกำกับดูแล
เลขานุการบริษัท
คณะกรรมการบริษัท ได้มีมติแต่งตั้ง นายดุษิต จงสุทธนามณี ดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการบริษัท ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2551 ซึ่งเลขานุการบริษัทจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดในมาตรา 89/15 และมาตรา 89/16 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 31 สิงหาคม 2551 ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับบริษัท มติคณะกรรมการ ตลอดจนมติที่ประชุมผุ้ถือหุ้น ทั้งนี้หน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมายของเลขานุการบริษัททมีดังนี้
องค์ประกอบและคุณสมบัติ
1. ต้องมีความรู้ขั้นพื้นฐานในหลักการของกฎหมายและกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2. ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และข้อพึงปฏิบัติที่ดีในเรื่องการกำกับดูแลกิจการ
3. มีความรู้ในธุรกิจของบริษัท และความสามารถในการสื่อสารที่ดี
หน้าที่และความรับผิดชอบของเลขานุการบริษัท
1. จัดทำและเก็บรักษาเอกสารดังต่อไปนี้
(ก) ทะเบียนกรรมการ
(ข) หนังสือนัดประชุมคณะกรรมการบริษัท รายงานประชุมคณะกรรมการบริษัท และรายงานประจำปีของบริษัท
(ค) หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และรายงานประชุมผู้ถือหุ้น
2. เก็บรักษารายงานการมีส่วนได้เสียที่รายงานโดยกรรมการหรือผู้บริหาร และจัดส่งสำเนารายงานการมีส่วนได้เสียตามมาตรา 89/4 ให้ประธานคณะกรรมการ และประธานคณะกรรมการตรวจสอบทราบภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่บริษัทได้รับรายงานนั้น
3. ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
นอกจากนี้ เลขานุการบริษัทยังมีหน้าที่อื่นตามที่บริษัท หรือคณะกรรมการบริษัทมอบหมายดังนี้
1. ให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่กรรมการบริษัท เกี่ยวกับข้อกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ของบริษัท และติดตามให้มีการปฏิบัติตามอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ รวมถึงรายงานการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญแก่กรรมการบริษัท
2. ให้คำแนะนำกรรมการบริษัทในการจัดทำรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการบริษัท และจัดส่งรายงานการมีส่วนได้เสียให้ประธานกรรมการบริษัทและประธานกรรมการตรวจสอบ
3. ทำหน้าที่ในการดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการบริษัทและการประชุมผู้ถือหุ้น
4. จัดทำรายงานสารสนเทศที่สำคัญและ/หรือสรุปมติการประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
5. จัดทำร่างนโยบายด้านการบริหารต่างๆ เช่น นโยบายหลักการกำกับดูแลกิจการ เป็นต้น
6. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายในบริษัทให้ปฏิบัติตามมติคณะกรรกมารบริษัทและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
7. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแล เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ และกระทรวงพาณิชย์ และดูแลการเปิดเผยข้อมูลและรายงานสารสนเทศต่อหน่วยงานที่กำกับดูแลและสาธารณชน ให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย
8. ติดต่อสื่อสารกับผู้ถือหุ้น และดูแลผู้ถือหุ้นอย่างเหมาะสมให้ได้รับทราบสิทธิต่างๆ ของผู้ถือหุ้นและข่าวสารของบริษัท
9. ดูแลให้บริษัท และคณะกรรมการบริษัทปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
10. ดูแลให้หน่วยงานเลขานุการบริษัทเป็นศูนย์กลางของข้อมูลองค์กร (Corporate Records) อาทิ หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล บริคณห์สนธิ ข้อบังคับ ทะเบียนผู้ถือหุ้น และใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างๆ เป็นต้น
11. จัดให้มีการปฐมนิเทศ ให้คำแนะนำแก่กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่
12. หน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากบริษัท
![]() | นายดุษิต จงสุทธนามณีตำแหน่ง อายุ 49 ปี | |
คุณวุฒิการศึกษา ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร การอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และทักษะการเป็นกรรมการ หลักสูตร Company Secretary Program (CSP) 74/2016 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) | ||
ประสบการณ์การทำงาน ที่ปรึกษาทางการเงิน บจก. เอฟ พี เอ็ม คอนซัลแท้นท์ | ||
การดำรงตำแหน่งกรรมการ/อื่นๆ ในปัจจุบัน • บริษัทจดทะเบียนอื่น • กิจการที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน | ||
สัดส่วนการถือหุ้น ณ วันที่ 30 ธ.ค. 2564 – ไม่มี – |
เลขานุการบริษัท
คณะกรรมการบริษัท ได้มีมติแต่งตั้ง นายดุษิต จงสุทธนามณี ดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการบริษัท ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2551 ซึ่งเลขานุการบริษัทจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดในมาตรา 89/15 และมาตรา 89/16 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 31 สิงหาคม 2551 ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับบริษัท มติคณะกรรมการ ตลอดจนมติที่ประชุมผุ้ถือหุ้น ทั้งนี้หน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมายของเลขานุการบริษัททมีดังนี้
องค์ประกอบและคุณสมบัติ
1. ต้องมีความรู้ขั้นพื้นฐานในหลักการของกฎหมายและกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2. ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และข้อพึงปฏิบัติที่ดีในเรื่องการกำกับดูแลกิจการ
3. มีความรู้ในธุรกิจของบริษัท และความสามารถในการสื่อสารที่ดี
หน้าที่และความรับผิดชอบของเลขานุการบริษัท
1. จัดทำและเก็บรักษาเอกสารดังต่อไปนี้
(ก) ทะเบียนกรรมการ
(ข) หนังสือนัดประชุมคณะกรรมการบริษัท รายงานประชุมคณะกรรมการบริษัท และรายงานประจำปีของบริษัท
(ค) หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และรายงานประชุมผู้ถือหุ้น
2. เก็บรักษารายงานการมีส่วนได้เสียที่รายงานโดยกรรมการหรือผู้บริหาร และจัดส่งสำเนารายงานการมีส่วนได้เสียตามมาตรา 89/4 ให้ประธานคณะกรรมการ และประธานคณะกรรมการตรวจสอบทราบภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่บริษัทได้รับรายงานนั้น
3. ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
นอกจากนี้ เลขานุการบริษัทยังมีหน้าที่อื่นตามที่บริษัท หรือคณะกรรมการบริษัทมอบหมายดังนี้
1. ให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่กรรมการบริษัท เกี่ยวกับข้อกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ของบริษัท และติดตามให้มีการปฏิบัติตามอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ รวมถึงรายงานการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญแก่กรรมการบริษัท
2. ให้คำแนะนำกรรมการบริษัทในการจัดทำรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการบริษัท และจัดส่งรายงานการมีส่วนได้เสียให้ประธานกรรมการบริษัทและประธานกรรมการตรวจสอบ
3. ทำหน้าที่ในการดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการบริษัทและการประชุมผู้ถือหุ้น
4. จัดทำรายงานสารสนเทศที่สำคัญและ/หรือสรุปมติการประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
5. จัดทำร่างนโยบายด้านการบริหารต่างๆ เช่น นโยบายหลักการกำกับดูแลกิจการ เป็นต้น
6. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายในบริษัทให้ปฏิบัติตามมติคณะกรรกมารบริษัทและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
7. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแล เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ และกระทรวงพาณิชย์ และดูแลการเปิดเผยข้อมูลและรายงานสารสนเทศต่อหน่วยงานที่กำกับดูแลและสาธารณชน ให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย
8. ติดต่อสื่อสารกับผู้ถือหุ้น และดูแลผู้ถือหุ้นอย่างเหมาะสมให้ได้รับทราบสิทธิต่างๆ ของผู้ถือหุ้นและข่าวสารของบริษัท
9. ดูแลให้บริษัท และคณะกรรมการบริษัทปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
10. ดูแลให้หน่วยงานเลขานุการบริษัทเป็นศูนย์กลางของข้อมูลองค์กร (Corporate Records) อาทิ หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล บริคณห์สนธิ ข้อบังคับ ทะเบียนผู้ถือหุ้น และใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างๆ เป็นต้น
11. จัดให้มีการปฐมนิเทศ ให้คำแนะนำแก่กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่
12. หน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากบริษัท