สอบถามข้อมูลนักลงทุน
สำนักงานเลขานุการบริษัท / นักลงทุนสัมพันธ์
นายดุษิต จงสุทธนามณี
กรรมการการเงินและบริหารความเสี่ยง / เลขานุการบริษัท
28 ซอยบางนา-ตราด28 แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260
โทร: +66 2769 9999, +66 2361 3311 ต่อ 431
อีเมล์ : ir@pranda.co.th
สมัครเพื่อติดตามข่าวสารนักลงทุน

คำถามที่พบบ่อย
Q1 : กลุ่มบริษัทแพรนด้าดำเนินธุรกิจอะไร?
บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) หรือ “PRANDA” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 และได้นำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2533 ปัจจุบันบริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน 539 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 3,730 ล้านบาท บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องประดับแท้เป็นหลัก ปัจจุบันเป็นผู้นำด้านการส่งออกเครื่องประดับอัญมณีของไทย ยุโรป และเอเชีย บริษัทฯ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “เราเป็นพันธมิตรธุรกิจด้านเครื่องประดับชั้นนำของโลกที่ร่วมสร้างความเจริญเติบ โตและความสำเร็จให้กับคู่ค้าอันทรงคุณค่าของเรา” โดยในปี 2565 ทางบริษัท ได้ปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัทจาก 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจการผลิต กลุ่มธุรกิจจัดจำหน่าย กลุ่มธุรกิจกิจค้าปลีก เป็น 2 กลุ่มธุรกิจหลัก ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจการผลิต และกลุ่มธุรกิจ Omnichannel Distribution เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการของบริษัทในปัจจุบันและอนาคต
Q2 : จุดเด่นของกลุ่มบริษัทแพรนด้าในการดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนานกว่า 40 ปีคืออะไร?
ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ที่กลุ่มบริษัทแพรนด้าดำเนินธุรกิจ ทางบริษัทฯ ได้รับการยอมรับจากลูกค้านานาชาติและคู่ค้าในวงการเครื่องประดับอัญมณี ด้วยจุดแข็งที่เป็นเอกลักษณ์ คือ
1. ความใส่ใจในความต้องการของลูกค้า มีความประณีตในทุกขั้นตอนการทำงาน รวมถึงความใส่ใจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน คู่ค้า ซัพพลายเออร์ ชุมชน และสังคม
2. ความสามารถในการออกแบบและผลิตเครื่องประดับระดับงานฝีมือ ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ สามารถตอบสนองความต้องการสั่งซื้อในปริมาณมาก
3. กระบวนการทำงานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบระหว่างหน่วยงานและหน่วยธุรกิจ เสริมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร
Q3 : บริษัทฯ ตั้งอยู่ที่ไหน และมีโรงงานอยู่ที่ใด?
กลุ่มบริษัทแพรนด้ามีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 28 ซอยบางนา-ตราด 28 ถ. บางนา-ตราด กม. 2.3 แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 มีโรงงานในประเทศไทย (กรุงเทพฯ และนครราชสีมา) เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งรวมแล้วมีกำลังการผลิตกว่า 4 ล้านชิ้นต่อปี
Q4 : กลุ่มบริษัทแพรนด้ามีโครงสร้างธุรกิจอย่างไร?
กลุ่มบริษัทแพรนด้ามีโครงสร้างธุรกิจแบ่งเป็น 2 สายธุรกิจ ดังนี้
1. สายธุรกิจการผลิต: ผลิตเครื่องประดับอัญมณีที่มีประสิทธิภาพในด้านการประหยัดขนาดการผลิต (Economies of Scale) ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าเหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า และได้กระจายความเสี่ยงทางด้านการผลิตเพื่อให้ครอบคลุมแทบทุกระดับราคาสินค้า โดยกลุ่มบริษัทฯ มีโรงงานในประเทศไทยและ เวียดนาม ปัจจุบันบริษัทฯ มีกำลังการผลิตประมาณ 4 ล้านชิ้นต่อปี อีกทั้งมีศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุม
2. สายธุรกิจ Omnichannel Distribution: บริษัทฯ มีบริษัทย่อยที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการจัดจำหน่ายแบบรวมทุกช่องทาง ซึ่งรวมถึงร้านค้าปลีกของบริษัทเอง และการจัดจำหน่ายผ่านคู่ค้าปลีกที่ได้รับการแต่งตั้งครอบคลุมเอเชียและตะวันออกกลาง เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเครื่องประดับโดยตรง ปัจจุบันมี 4 บริษัทในไทย เวียดนาม อินเดีย และอังกฤษ (E-commerce)
Q5 : แพรนด้า มีมาตรการอย่างไรในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน และราคาทองคำซึ่งเป็นสินค้าโภคภัณฑ์(commodity)?
การแกว่งตัวของค่าเงินเหรียญสหรัฐซึ่งเป็นสกุลเงินหลัก บริษัทฯ ได้ทำธุรกรรมสัญญาซื้อขายเงินตราล่วงหน้า (Forward Contract) แบบเงินสกุลเดียวกัน (Natural Hedge) และการทำธุรกรรมวิธีส่งผ่าน (passthru) ราคาทองคำให้กับลูกค้าโดยตรง
Q6 : นับตั้งแต่ บมจ. แพรนด้า เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการปันผลมาแล้วกี่ครั้ง และมีนโยบายการปันผลอย่างไร?
บริษัทฯ ได้แปลงสภาพเป็นบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2533 มีการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นจำนวน 28 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2533-2537 และ 2544-2559 ตามลำดับ ในส่วนของหลักการพิจารณาจ่ายปันผลในแต่ละปี ไม่เกินร้อยละ 60 ของกำไรสุทธิประจำปีจากงบการเงินเฉพาะกิจการ โดยคณะกรรมการบริษัท จะพิจารณาถึงกำไรจากการดำเนินงาน เงินทุนหมุนเวียน เงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เงื่อนไขทางการเงิน และ การตั้งสำรองทุนตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
Q7 : รัฐบาลมีส่วนให้ความสนับสนุนธุรกิจอัญมณีในด้านใดบ้าง?
รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนภาคธุรกิจเอกชนที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับอัญมณี ทั้งทางตรง และทางอ้อม โดยทางตรง รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนโดยผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI แก่ผู้ประกอบการที่ลงทุนภายใต้เงื่อนไขของ BOI โดยผู้ประกอบการจะได้รับสิทธิประโยชน์จากภาครัฐหลายด้าน สำหรับบริษัทฯ ก็เป็นผู้ประกอบการรายหนึ่งที่ได้รับสิทธิประโยชน์จาก BOI อาทิ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลาแปดปีนับจากวันเริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ บริษัทฯ ได้เริ่มใช้สิทธิตามบัตรส่งเสริมเลขที่ 1616 (2)/2553 ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2554 และจนถึงปัจจุบันทางบริษัทฯ ก็ยังคงได้รับสิทธิดังกล่าวอยู่
ส่วนทางอ้อม รัฐบาลได้ร่วมมือกับภาคเอกชน โดยการก่อตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อค้นคว้าวิจัย ยกระดับและพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจด้านต่างๆ นอกจากนี้ภาครัฐยังได้เปิดภาควิชาการออกแบบเครื่องประดับอัญมณีที่มหาวิทยา ลัยศรีนครินทร์วิโรฒน์ ประสานมิตร เพื่อที่จะผลิตบุคลากรที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ให้เพียงพอต่อความต้องการของภาคธุรกิจ รวมไปถึงการสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการผลิตบุคลากรในสายอาชีพ ระดับ ปวช. ปวส. สาขาวิชาช่างเครื่องประดับอัญมณี ด้วยแนวทางการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี เพื่อป้อนตลาดแรงงานภาคการผลิต ตลอดจนการส่งเสริมฝีมือแรงงานโดยการฝึกงานการผลิตเครื่องประดับ โดยกระทรวงแรงงาน ซึ่งทางบริษัทฯ ก็ได้ใช้แนวทางการตามกรอบนโยบายของรัฐบาล ในการผลิตบุคลากร ทั้งในระดับปริญญาตรี และ ปวช. เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต
และเหนือสิ่งอื่นใดรัฐบาลมีนโยบายสร้างความเข็มแข็งให้กับประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการค้าพลอยสีของโลก โดยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับวัตถุดิบโลหะและพลอย ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของอุตสาหกรรมแขนงนี้
Q8 : กระบวนการผลิตอัญมณีมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมหรือไม่?
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับอัญมณี ของ บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด(มหาชน) จะจัดอยู่ในประเภทอุตสาหกรรมเบา ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับที่น้อย เนื่องจากเป็นการใช้กำลังการผลิตจากแรงงานซึ่งเป็นช่างฝีมือเป็นหลักแต่อย่างไรก็ตามทางบริษัทฯ มุ่งหวังที่จะให้เกิดความยั่งยืนของกิจการ และป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน
ดังนั้นจึงได้ดำเนินการในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม 3 ด้าน ก็คือ
1. การป้องมลภาวะจากน้ำทิ้ง ทางบริษัทได้มีการบริหารจัดการด้วยการวางระบบบัดน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ยังได้สร้างคอนกรีตเพื่อป้องกันแนวท่อ อันเป็นการสร้างความมั่นใจได้ว่า น้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต จะไม่รั่วไหลลงไปสู่แหล่งน้ำธรรมชาติก่อนที่จะมีการบำบัด
2. การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยทางบริษัทฯ ได้ลงทุนสร้างระบบการคัดกรองวัสดุเศษซากจากกระบวนการผลิต เพื่อให้สามารถนำกลับมาเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตใหม่ได้ รวมถึงการบริหารจัดการขยะจากทั้งส่วนอาคารสำนักงาน และ โรงงาน ด้วยการ Re-Cycle และ Re-Use ภายใต้ชื่อ “ธนาคารขยะ “ ซึ่งไม่เพียงจะเป็นการลดการใช้ทรัพยากรส่วนที่ไม่จำเป็นแล้ว ยังสามารถสร้างจิตสำนึกในการประหยัดให้กับบุคลากรทั่วทั้งองค์กรได้เป็นอย่างดี
3. 3. การลดใช้สารทำความเย็นที่มีผลต่อสภาวะโลกร้อน ระยะที่ผ่านมาทางบริษัทฯ ได้ลดการใช้สารทำความเย็นที่มีส่วนประกอบของสาร “คลอโรฟูออโรคาร์บอน” หรือ CFC ในระบบทำความเย็นต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยหันไปใช้เครื่องทำความเย็นประสิทธิภาพสูง ที่ไม่ใช้สารทำความเย็นที่มีส่วนประกอบของสาร CFC โดยล่าสุดได้มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบ Chiller สำหรับอาคารสำนักงานแห่งใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเครื่องปรับอากาศดังกล่าว ใช้สารทำความเย็นที่ไม่มีผลกระทบกับชั้นบรรยากาศ จากการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ระยะที่ผ่านมาในปี 2545 ทางบริษัทฯ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานที่ทำงาน “สะอาด ปลอดภัย ไร้มลพิษ มีชีวิตชีวา” โดยได้รับใบรับรองจากสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร
Q9 : หากมีข้อซักถามหรือความคิดเห็นเพิ่มเติมไม่ทราบว่าจะสามารถติดต่อกับบริษัทฯ ได้จากทางไหนบ้าง?
ท่านสามารถติดต่อสอบถามข่าวสารหรือข้อมูลของบริษัทฯ ได้โดยส่งจดหมายมาที่ สำนักงานเลขานุการบริษัท/นักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) 28 ซอยบางนา-ตราด 28 บางนาใต้ กรุงเทพฯ 10260 และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตท่านสามารถติดต่อได้จากทางเว็บไซต์ www.pranda.com หมวดนักลงทุนสัมพันธ์ หรือติดต่อทาง E-Mail โดยตรงได้ที่ IR@pranda.co.th โทรศัทพ์ 0-2769- 9999 ต่อ 431